เมนู

ปาฏลิคามิยวรรคที่ 8



1. ปฐมนิพพานสูตร



ว่าด้วยอายตนะ คือ นิพพาน



[158] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ
ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำ
ให้มั่น มนสิการแล้วน้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟัง
ธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน
น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจาย-
ตนะ อากิญจัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์
และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้น
ว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้
มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบปฐมนิพพานสูตรที่ 1

ปาฏลิคามิยวรรควรรณนาที่ 8



อรรถกถาปฐมนิพพานสูตร



ปาฏลิคามิยวรรค ปฐมนิพพานสูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นิพฺพานปฏิสํยุตฺตาย ความว่า อสังขตธาตุที่อาศัยอมตธาตุ
เป็นไปด้วยอำนาจการประกาศให้รู้. บทว่า ธมฺมิยา กถาย แปลว่า ด้วย
ธรรมเทศนา. บทว่า สนฺทสฺเสติ ได้แก่ แสดงถึงพระนิพพาน โดย
ลักษณะแห่งสภาวะพร้อมด้วยกิจ. บทว่า สมาทเปติ ได้แก่ ให้ภิกษุ
เหล่านั้น ยึดถือเอาอรรถนั้นนั่นแล. บทว่า สมุตฺเตเชติ ได้แก่ เมื่อให้
อุตสาหะเกิดในกาลยึดถือประโยชน์นั้น ชื่อว่าย่อมให้อบอุ่น คือให้โชติช่วง.
บทว่า สมฺปหํเสติ ได้แก่ ย่อมให้ยินดี ด้วยคุณคือพระนิพพาน โดยชอบ
ทีเดียว คือโดยประการทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า สนฺทสฺเสติ
ความว่า ทรงแสดงโดยชอบ อันเหมาะสมแก่อัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น ๆ
โดยประการทั้งปวง คือโดยปริยายนั้น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเป็นที่
สิ้นตัณหา เป็นที่คลายราคะ เป็นที่ดับ อันเป็นเครื่องสงบสังขารทั้งปวง
อันเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวงนั้น. บทว่า สมาทเปติ ความว่า ทรงกระทำ
ให้ภิกษุทั้งหลาย น้อมไป โอนไป เงื้อมไปในธรรมนั้น พร้อมด้วยปฏิปทา
เครื่องบรรลุ ชื่อว่าทรงชักชวน คือให้ภิกษุถือเอาโดยชอบว่า เธอพึง
บรรลุพระนิพพานนั้น ด้วยอริยมรรคนี้. บทว่า สมุตฺเตเชติ ความว่า
ทรงทำภิกษุเหล่านั้นให้อาจหาญ ในการบรรลุพระนิพพาน หรือให้ทำจิต
ให้ผ่องแผ้วในพระนิพพานนั้น ด้วยพระดำรัสว่า พวกเธออย่าถึงความ
ประมาท คือถึงความหยุดเสียในระหว่าง ในสัมมาปฏิบัติว่า พระนิพพาน
นี้ทำได้ยาก มีความยินดีได้ยาก เพราะพระนิพพานนี้ อันผู้สมบูรณ์ด้วย